เมนู

คือทิฏฐิ 7. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ 8. ทิฏฐิสัมพาธะ ความคับแคบ
คือทิฏฐิ 9.ทิฏฐิปลิโพธะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ 10. ทิฏฐิพันธนะ เครื่อง
ผูกคือทิฏฐิ 11. ทิฏฐิปปาตะ เหวคือทิฏฐิ 12. ทิฏฐานุสัย อนุสัยคือ
ทิฏฐิ 13. ทิฏฐิสันตาปะ เครื่องเผาคือทิฏฐิ 14. ทิฏฐิปริฬาหะ เครื่อง
เร่าร้อนคือทิฏฐิ 15. ทิฏฐิคันถะ เครื่องร้อยคือทิฏฐิ 16. ทิฏฐุปาทาน
อุปาทานคือทิฏฐิ 17. ทิฏฐาภินิเวสะ ความยึดมั่นคือทิฏฐิ 18. ทิฏฐิ
ปรามาส ความจับต้องคือทิฏฐิ. คำว่า สมุฏฺฐานํ เป็นไวพจน์ของทิฏฐิฐานะ
นั่นแล. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขันธ์เป็นปัจจัย เพราะอรรถว่ายึดฐานะ
แห่งทิฏฐิตั้งขึ้น. ทุกบทพึงให้พิสดาร. ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทิฏฐิสมุค-
ฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิทุกอย่างได้เด็ดขาด. บทว่า ตมหํ ได้แก่ เรารู้ทิฏฐิ
นั้นได้ทุกอย่าง. บทว่า กฺยาหํ วกฺขามิ แปลว่า เรากล่าวเพราะเหตุไร.
จบอรรถกถาโกกนุทสูตรที่ 6

7. อาหุเนยยสูตร


ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม 10 ประการเป็นผู้ควรของคำนับ


[97] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประ-
การ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ
เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า
ธรรม 10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกข์สังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระและ
โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับ